ทนายความจังหวัดสงขลา

ทนายความจังหวัดสงขลา

เปิดหน้าต่อไป

ลักษณะของหมายศาล

ลักษณะของหมายศาล

คดีแพ่ง

 1.หมายเรียกคดีแพ่งสามัญ

 ในคดีแพ่ง เมื่อโจทก์ฟ้องจําเลยเป็นคดีแพ่ง ศาลจะส่งสํานาคําฟ้องให้จําเลย เมื่อจําเลยได้รับหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องแล้ว ท่านในฐานะจําเลยต้องทําคําให้การแก้คดีเป็นหนังสือต่อศาลภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่รับหมาย หากท่านไม่ยื่นคําให้การแก้คดีภายในกําหนดเวลาดังกล่าวก็จะทําให้ท่านหมดสิทธิต่อสู้คดีในชั้นพิจารณาของศาล

2. หมายเรียกพยานบุคคล

 หมายประเภทนี้คือคําสั่งให้ท่านไปศาลตามวันเวลาสถานที่ที่กําหนดไว้ใน  หมายเรียกเพื่อเบิกความเป็นพยานต่อศาล ท่านต้องไปศาลตามวันเวลาที่ศาลนัด หากท่านขัดขืน  ท่านอาจถูกจับตัวไปกักขังได้และอาจถูกฟ้องฐานขัดขืนหมายเรียกของศาลอีกด้วย ฉะนั้น หากท่านมีเหตุขัดข้องไปศาลตามกําหนดนัดไม่ได้ท่านควรทําหนังสือแจ้งเหตุขัดข้องดังกล่าวต่อศาล

3. หมายเรียกพยานเอกสารหรือพยานวัตถุ

 หากท่านมีพยานเอกสาร เช่น พินัยกรรม โฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย เช็ค เป็นต้น หรือพยานวัตถุ เช่น ทรัพย์ที่พิพาทในคดีแพ่ง เช่น รถยนต์นาฬิกา แหวน เป็นต้น อยู่กับตัวท่าน เมื่อเกิดคดีขึ้น พยานเอกสารและพยานวัตถุเหล่านั้น เมื่อนําแสดงต่อศาลแล้วจะทําให้คดีรู้ผลแพ้ชนะกันได้หากไม่ส่งพยานเอกสารหรือพยานวัตถุดังกล่าวโดยไม่มีเหตุขัดข้อง ท่านอาจมีความผิดฐานขัดขืนหมายเรียกของศาลได้เช่นกัน

 

4. หมายบังคับคดี

 เมื่อศาลพิพากษาให้ท่านแพ้คดีแพ่ง เช่น โจทก์ฟ้องท่านเป็นจําเลยให้ชําระหนี้ตามเช็ค ๙,๐๐๐ บาท หากท่านแพ้คดีแล้วแต่ยังไม่ชําระหนี้ให้โจทก์โจทก์ก็จะยื่นคําร้องให้ศาลออกหมายบังคับคดีโดยศาลจะออกหมายบังคับคดีกับท่านซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษา โจทก์จะนําเจ้าพนักงานบังคับคดีมายึดอายัดทรัพย์ของท่านออกขายทอดตลาดเพื่อนําเงินไปใช้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา เหล่านี้เป็นการบังคับคดีตามคําพิพากษาของศาล หากท่านไม่ยอมปฏิบัติตามหมายบังคับคดีของศาล ท่านอาจมีความผิดฐานขัดขืนหมายศาล