ทนายความจังหวัดสงขลา

ทนายความจังหวัดสงขลา

เปิดหน้าต่อไป

เกี่ยวกับกฎหมายอาญา

เกี่ยวกับกฎหมายอาญา

          กฎหมายอาญามีความพิเศษจากผลลัพธ์ที่อาจรุนแรงหรือบทลงโทษที่ละเว้นการปฏิบัติตามหลักกฎหมายอาญา  อาชญากรรมทุกประเภทมีองค์ประกอบแห่งความผิดอาญา โทษทางอาญามีทั้งโทษประหารชีวิต ซึ่งบางเขตอำนาจศาลใช้บังคับสำหรับอาชญากรรมที่ร้ายแรงที่สุด, การลงโทษทางกาย เช่น การเฆี่ยน แม้ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกห้ามการลงโทษลักษณะนี้แล้ว, การกักขังในเรือนจำหรือคุกในสภาพต่าง ๆ ซึ่งอาจมีการแยกขังเดี่ยว ส่วนระยะเวลานั้นอาจมีตั้งแต่ 1 วันไปจนถึงตลอดชีวิต, การคุมความประพฤติ เช่น การกักให้อยู่แต่ในบ้าน (house arrest) และผู้ต้องโทษอาจถูกบังคับให้ปฏิบัติตามแนวทางอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเป็นส่วนหนึ่งของการปล่อยตัวโดยมีการคุมประพฤติหรือการคุมประพฤติ, ปรับ, และริบทรัพย์เป็นเงินหรือทรัพย์สิน  มีการยอมรับวัตถุประสงค์ 5 ประการสำหรับการบังคับใช้กฎหมายอาญาโดยการลงโทษ ได้แก่ การตอบแทน การป้องปราม การหมดความสามารถ การทำให้กลับคืนดีและการคืนสภาพ เขตอำนาจศาลต่าง ๆ ให้น้ำหนักแก่คุณค่าต่างกันไป  การตอบแทน (retribution) มองว่าอาชญากรสมควรถูกลงโทษในทางใดทางหนึ่ง เป็นเป้าหมายที่มองกันแพร่หลายมากที่สุด อาชญากรใช้ข้อได้เปรียบอย่างไม่เหมาะสม หรือก่อความเสียหายอย่างอยุติธรรมต่อผู้อื่น ดังนั้นกฎหมายอาญาจึงต้องทำให้อาชญากรได้รับผลเสียอันไม่น่าพึงประสงค์เพื่อให้ "สมดุลกัน" ในทำนองเดียวกัน ประชาชนยอมรับต่อกฎหมายเพื่อให้ได้รับสิทธิในการไม่ถูกฆ่า และหากมีประชาชนฝ่าฝืนกฎหมายข้อนี้ ถือว่าพวกเขายอมสละสิทธิที่กฎหมายมอบให้ ดังนั้นบุคคลที่ฆ่าผู้อื่นจึงอาจถูกประหารชีวิตด้วย ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมี "การรักษาสมดุล"

การป้องปราม (deterrence): การป้องปรามปัจเจกมุ่งต่อผู้กระทำความผิดคนใดคนหนึ่ง เป้าหมายคือการกำหนดบทลงโทษให้หนักเพียงพอเพื่อให้ประชาชนไม่คิดกระทำความผิด การป้องปรามทั่วไปมุ่งต่อสังคมทั้งหมด  การหมดความสามารถ (incapacitation): ออกแบบมาเพื่อกันอาชญากรจากสังคมเพื่อให้ปลอดภัยจากการกระทำความผิด โทษอาจมีทั้งจำคุก ประหารชีวิตหรือเนรเทศ  การทำให้กลับคืนดี (rehabilitation): มุ่งแปลงสภาพผู้กระทำความผิดให้กลับเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณค่า เป้าหมายหลักคือป้องกันการกระทำความผิดซ้ำโดยการจูงใจผู้กระทำความผิดว่าการกระทำของเขาผิด  การคืนสภาพ (restoration) ตามทฤษฎีการลงโทษที่เน้นผู้เสียหาย เป้าหมายคือการใช้อำนาจรัฐแก้ไขความเสียหายใด ๆ ที่ผู้กระทำความผิดกระทำต่อผู้เสียหาย